วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

ข่าววิทยาศาสตร์7


บริษัทเอกชนในสหรัฐฯ พัฒนาเทคโนโลยีเชื่อมสมองกับคอมพิวเตอร์


บริษัทเอกชนในสหรัฐฯ พัฒนาเทคโนโลยีเชื่อมสมองกับคอมพิวเตอร์

          บริษัทเอกชนในสหรัฐฯ ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีเชื่อมต่อสมองเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยอาการทางสมอง ผู้พิการทางร่างกายและการพัฒนาเทคโนโลยีสั่งงานระบบคอมพิวเตอร์ด้วยสมอง รวมไปถึงการควบคุมการทำงานของ AI ในอนาคต
          เทคโนโลยีการเชื่อมต่อสมองเข้ากับคอมพิวเตอร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นเรียกว่า Brain-machine interfaces (BMIs) การเชื่อมต่อสมองโดยใช้สายสื่อสารที่เรียกว่าเทรส (Threads) มีความบางและยืดยุ่นสูงขนาดเล็กประมาณ 4-6 ไมโครเมตรหรือประมาณ 0.004 - 0.006 มิลลิเมตร เล็กกว่าเส้นผมของมนุษย์หลายเท่าทำการเชื่อมต่อสมองเข้ากับคอมพิวเตอร์ผ่านทางพอร์ทเชื่อมต่อ USB-C ส่งข้อมูลไปยังชิปคอมพิวเตอร์ประมวลผลที่บริษัทพัฒนาขึ้นมาด้วยตัวเอง
          นอกจากนี้บริษัทยังพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีลักษณะคล้ายจักรเย็บผ้าทำหน้าที่ผ่าตัดฝังสายสื่อสารเทรสเข้าสู่สมอง เนื่องจากสายสื่อสารเทรสมีขนาดเล็กมากทำให้แทบไม่มีผลกระทบต่อเส้นเลือดหรือก่อความเสียหายให้กับสมอง อย่างไรก็ตามเป้าหมายในอนาคตบริษัทกำลังพัฒนาเทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบไร้สายเข้ากับสมองผ่านอุปกรณ์พิเศษ N1 sensor ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัดฝังสายสื่อสารเทรสเข้าสู่สมองโดยตรงอีกต่อไป          
          เทคโนโลยีเชื่อมต่อสมองมนุษย์เข้ากับคอมพิวเตอร์จะกลายเป็นก้าวกระโดดครั้งสำคัญของมนุษย์สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยอาการทางสมอง ผู้พิการทางร่างกายสามารถสั่งงานแขนหรือขาหุ่นยนต์ การติดต่อสื่อสาร การสั่งงานอุปกร์สมาร์ทโฟนโดยไม่ต้องใช้นิ้วสัมผัสหน้าจอแสดงผล รวมไปถึงเพิ่มขีดความสามารถด้านการเข้าถึงข้อมูลความรู้ การตัดสินใจของมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพเท่าเทียมหรือดีกว่าเทคโนโลยีระบบปัญญาประดิษฐ์ ทั้งนี้บริษัทตั้งเป้าทดสอบกับสมองของมนุษย์ภายในปี 2020 หากได้รับอนุญาตจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

ข่าววิทยาศาสตร์6


ครั้งแรก! พบ “น้ำ” บนดาวเคราะห์นอกสุริยะเอื้อต่อสิ่งมีชีวิต





          สดร.เผยนักดาราศาสตร์ตรวจพบโมเลกุลน้ำ ในชั้นบรรยากาศบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ “K2-18b” ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ในเขตที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต แต่ยังไกลจากการเป็นบ้านใหม่ของมนุษย์ 
          วันนี้ (12 ก.ย.2562) นายธนกร อังค์วัฒนะ เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เผยข้อมูลผ่านทางเฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page ว่า นักดารา ศาสตร์ตรวจพบโมเลกุลน้ำ ในชั้นบรรยากาศบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ “K2-18b” ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ในเขตที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต  นับเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงแรก ที่มีทั้งน้ำและอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิต งานวิจัยครั้งนี้นำทีมโดย ดร.อังเยลอส ทซีอารัส จากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ศึกษาชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ที่กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์แม่ในระยะห่างที่ทำให้น้ำอยู่ในสถานะของเหลว และได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature Astronomy

ที่มา : เว็บ

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562

ข่าววิทยาศาสตร์5


NECTEC เปิดตัว "สุทธิชัย หยุ่น" นักข่าว A.I. คนแรกของไทย


NECTEC เปิดตัว "สุทธิชัย หยุ่น" นักข่าว A.I. คนแรกของไทย

          วานที่ 9 ก.ย.2562 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC ) ร่วมกับ  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงานเปิดตัว A.I.นักข่าวคนแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นการสร้าง A.I.โดยมีต้นแบบมาจาก "สุทธิชัย หยุ่น" นักข่าวรุ่นใหญ่ สุทธิชัย A.I. ระบุว่า สุทธิชัย หยุ่น A.I.กำลังจะทำการปฏิวัติข่าวสารครั้งประวัติศาสตร์ ด้วยการนำเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แม่นยำ และน่าตื่นเต้นตลอดเวลา โดยสุทธิชัย A.I. คือตัวตนของสุทธิชัย หยุ่น เสียงจริง ลีลา ท่าทางจริง 
          ขณะนี้ไม่ใช่ mobile journalism เท่านั้น วันนี้มันคือ A.I.journalism ที่จะทำให้การสื่อสารเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ แม่นยำ เจาะลึกและไร้ข้อจำกัด โดยสุทธิชัย กับ สุทธิชัย A.I.เล่าข่าวเหมือนกัน แต่ต่อไปจะใช้เทคโนโลยี A.I.ยกระดับวงการสื่อมวลชนให้เข้มข้นขึ้น และสร้างความเท่าเทียมของการเข้าถึงข้อมูลและวิเคราะห์เจาะลึก เพื่อรายงานข่าวให้ประชาชนได้รับรู้ทุกภาคส่วน โดยขณะนี้ สุทธิชัย A.I. สามารถเล่าข่าวเป็นภาษาถิ่นเหนือและอีสานได้ และในอนาคตอาจจะรายงานข่าวเป็นภาษาถิ่นใต้ได้เพิ่มขึ้น 

ที่มา : เว็บ

ข่าววิทยาศาสตร์4


''จันทรายาน-2''ขาดการติดต่อก่อนลงจอดบนดวงจันทร์


"จันทรายาน-2" ขาดการติดต่อก่อนลงจอดบนดวงจันทร์

          ความคืบหน้าภารกิจยานอวกาศจันทรายาน-2 ขององค์การวิจัยอวกาศของอินเดีย ซึ่งออกเดินทางทางจากโลกเป็นเวลา 47 วันตั้งแต่วันที่ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา ก่อนเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์เมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา
          วันที่ (7 ก.ย.2562) องค์การวิจัยทางอวกาศของอินเดีย (ISRO) ระบุว่า ทางองค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย ได้ขาดการติดต่อกับยานอวกาศจันทรา- 2 ขณะที่อยู่ห่างจากพื้นผิวดวงจันทร์เพียง 2.1 กม.เท่านั้น และเป็นช่วง 15 นาทีสุดท้ายก่อนลงจอดที่ดวงจันทร์ ซึ่งยังไม่สามารถสรุปได้ว่าภารกิจครั้งนี้ล้มเหลวหรือไม่ ทั้งนี้ตามเวลาที่องค์การวิจัยทางอวกาศของอินเดีย ระบุว่า จันทรายาน-2ิ จะลงจอดเวลาประมาณ 03.00-04.00 น. บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์  และขณะนี้ศูนย์ควบคุมภารกิจกำลังวิเคราะห์ข้อมูลกำลังวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งหากการลงจอดเป็นไปอย่างราบรื่น อินเดียจะเป็นประเทศที่ 4 ต่อจาก รัสเซีย สหรัฐอเมริกา และจีน ที่สามารถนำยานอวกาศลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จ และบริเวณดังกล่าวจะเป็นจุดใต้สุดของดวงจันทร์ที่ยานอวกาศเดินทางไปถึง

 ที่มา : เว็บ

ช่าววิทยาศาสตร์3


เอกชนในสหรัฐอเมริกาพัฒนาหุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย


เอกชนในสหรัฐอเมริกาพัฒนาหุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย

          เอกชนในสหรัฐอเมริกาพัฒนาหุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยติดตั้งระบบปัญญาประดิษฐ์ขับเคลื่อนอัตโนมัติสำหรับใช้ในสำนักงาน ใช้การควบคุมจากคอมพิวเตอร์ส่วนกลางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยและการให้บริการข้อมูล
          หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน การแสดงผลผ่านหน้าจอสัมผัสขนาดเล็ก หุ่นยนต์ติดตั้งเซนเซอร์ (Sensor) ตรวจจับความเคลื่อนไหวรอบตัว 60 จุดกล้องจับภาพมุมมอง 360 องศา ติดตั้งเซนเซอร์ไลดาร์ (Sensor LIDAR) เทคโนโลยีการใช้แสงเลเซอร์ยิงเก็บข้อมูลระยะห่างของวัตถุต่าง ๆ รวมไปถึงติดตั้งเซ็นเซอร์อัลตราโซนิก (Ultrasonic Sensor) วัดระยะด้วยคลื่นอัลตร้าโซนิค การเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ใช้ล้อในการเคลื่อนที่
          ปัจจุบันระบบรักษาความปลอดภัยในบริษัทเป็นสิ่งจำเป็นและตลาดมีความต้องการสูง โดยเฉพาะในบริษัทที่ต้องการรักษาความลับของข้อมูลบริษัทและข้อมูลลูกค้า ในขณะที่ระบบรักษาความปลอดภัยที่ใช้มนุษย์มีข้อจำกัดหลายอย่างในการทำงาน เช่น ระยะเวลาการทำงาน ในขณะที่หุ่นยนต์สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยจึงเป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพสามารถแก้ข้อจำกัดของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี

ที่มา : เว็บ

ข่าววิทยาศาสตร์2


''นาซา'' เผยภาพ ''ดาวพฤหัสบดี'' คมชัดสุดตระการตา




          องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซ่า) เผยภาพถ่าย "ดาวพฤหัสบดี" จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล  บันทึกไว้เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 62 แสดงให้เห็นความสวยงามของจุดแดงใหญ่ (Great Red Sport) อันเป็นเอกลักษณ์ของดาวดวงนี้
          ลวดลายสีสันของแถบเมฆบนดาวพฤหัสบดีนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามความหนาแน่นและความสูงของเมฆน้ำแข็งแอมโมเนียในชั้นบรรยากาศ เมฆที่มีความหนาแน่นต่ำจะลอยตัวขึ้นสูงปรากฎเป็นแถบเมฆสีอ่อน เรียกว่า "แถบโซน (Zones)" และเมฆที่มีความหนาแน่นสูงปรากฎเป็นแถบเมฆสีเข้ม เรียกว่า "แถบเข็มขัด (Belts)"
          พายุหมุนที่ปรากฎเด่นชัดที่สุดบนดาวพฤหัสบดีคือ "จุดแดงใหญ่ (Great Red Sport)" หมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาปรากฎอยู่ระหว่างแถบเมฆสองแถบที่มีทิศทางการเคลื่อนที่สวนทางกันแถบเมฆสีแดง (ตะวันออกของจุดแดงใหญ่) มีทิศทางเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกส่วนแถบเมฆสีขาว (ตะวันตกของจุดแดงใหญ่) มีทิศทางเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออก อีกหนึ่งลักษณะเด่นที่น่าสนใจคือ แถบพายุบริเวณเส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดี แถบกว้างสีส้มสว่างบ่งชี้ว่าเมฆชั้นต่ำกำลังสลายตัว ทำให้อนุภาคที่มีสีแดงเด่นชัดขึ้นมาในชั้นเมฆนี้
          การเก็บข้อมูลดาวเคราะห์ในระบบสุริยะชั้นนอกด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "Outer Planets Atmospheres Legacy program" หรือ "OPAL" เพื่อถ่ายภาพและทำแผนที่ความละเอียดสูง ช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถศึกษาการเปลี่ยนแปลงรายปีของแถบเมฆ กระแสลม และพายุบนชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ในระบบสุริยะได้

ที่มา : เว็บ

วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2562

ข่าววิทยาศาสตร์1


นวัตกรรม “ฟาสต์แทร็ก” ย่นเวลาพัฒนาวัคซีน สู้ “มาลาเรีย”


         à¸ à¸²à¸ž : Mahidol Vivax Research Unit
          ดร.เจตสุมน  กล่าวว่าที่ผ่านมาการพัฒนาวัคซีนใหม่ๆ  อาจจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 20 ปี  กว่าจะนำวัคซีนมาใช้ได้  เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัย  แต่ในการวิจัยวัคซีนครั้งนี้ได้นำนวัตกรรม''ฟาสต์แทร็ก''มาช่วยย่นระยะเวลาในการวิจัยและพัฒนาวัคซีนให้เร็วขึ้น เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยได้ใช้วัคซีนได้เร็วขึ้น  ซึ่งขณะนี้ได้ศึกษาแบบเดียวกันในหลายประเทศ เช่น โคลอมเบีย สหรัฐอเมริกา ออสเตเรีย อังกฤษ และไทยจะเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่ใช้ฟาสต์แทร็ก
          ฟาสต์แทร็ก  เป็นกระบวนการทดสอบการติดเชื้อในคน เริ่มตั้งแต่กระบวนการเพาะยุงที่มีเชื้อไวแวกซ์ในห้องแล็ป ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล การนำเชื้อมาจำลองการติดเชื้อในอาสาสมัคร และเก็บตัวอย่างเชื้อ 

ที่มา : เว็บ



ข่าววิทยาศาสตร์7

บริษัทเอกชนในสหรัฐฯ พัฒนาเทคโนโลยีเชื่อมสมองกับคอมพิวเตอร์            บริษัทเอกชนในสหรัฐฯ ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีเชื่อม...